[review] ความรู้ที่แฝงอยู่ในการทำอาหาร

 
 
 
“ความรู้ที่แฝงอยู่ในการทำอาหาร”
เมื่อวานได้มาถ่ายทำอาหาร 3 เมนู กับ Revisit The Series ได้ความรู้เพิ่มมากๆ
 
แนวคิดคือกลับมาทำเมนูอาหารที่ได้เรียนทำอาหารหลายปีที่แล้ว ในสูตรเดิม แต่ตีความใหม่ ทำแตกต่างจากเดิม
ด้วยประสบการณ์ความรู้ที่มากขึ้น และความเข้าใจวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม

เมนูมีดังนี้
1. แกงเผ็ดเป็ดย่าง, สวนดุสิต คลาส Thai Cuisine
2.ซุปหัวหอม (Onion Soup), สวนดุสิต คลาส European Cuisine
3. ซุปผักอิตาลี่ (Minestrone), สวนดุสิต คลาส Fundamental Western Cuisine
 
สิ่งที่ได้คร่าวๆ
ถ่ายทำอาหาร 3 เมนู กับ Revisit The Series ได้ความรู้เพิ่มมากๆ
 
1. แกงเผ็ดเป็ดย่าง
 
- ความสมดุลของแกงเผ็ดเป็ดย่าง และความซับซ้อนรสชาติ เปรี้ยว เค็ม หวาน มัน รวมถึงใช้เป็ดเป็นโปรตีนหลัก ทำให้ร้านอาหารไทยในต่างชาตินิยมเมนูนี้
- ความเปรี้ยวแก้เลี่ยน, แกงนี้ต้องมีความเปรี้ยวจากผลไม้ที่มีความเป็นกรดเพื่อตัดความมันของเป็ด ถ้าไม่มีจะทำให้ไขมันเคลือบลิ้นจนทานต่อแล้วเลี่ยนได้
- เป็ดจะเหนียวมากขึ้นถ้าโดนความร้อนจัด และนาน, การใส่เป็ดควรใส่ตอนท้ายหลังจากปรุงทุกอย่างแล้ว เคี่ยวไฟเบาให้เข้าก็กันพอ ไม่ควรใส่เนื้อตั้งแต่ต้น
- น้ำข้นไม่แตกมันสำหรับลักษณะอาหารอินเตอร์, การเสริฟจะเป็นน้ำข้นแบบซอส หรือน้ำแกง ก็ขึ้นอยู่กับแนวลูกค้า
- เพิ่มความสดชื่นน้ำแกง, ช่วงเคี่ยวน้ำ สามารถใส่ Fresh Herb เพิ่มความเด่นรสชาติได้ เช่น ข่าสด, ใบมะกรูด
- เครื่องแกงจะผัดหัวกะทิหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเชฟ อยากให้รสชาติไปทางไหน ถ้าผัดพริกแกงก็ออกทางแกงพะแนง ถ้าอยากให้สดชื่นก็ไม่ต้องผัดพริกแกง ลงกับน้ำต้ม แก้รสปล่าด้วยน้ำตาลมะพร้าว
- สับปะรด มีเอนไซม์ โบรมีเลน ซึ่งช่วยย่อยเนื้อเป็ดเหนียวได้ บางงานวิจัยระบุว่า enzyme อยู่ได้ในความร้อนถึง 70-90C ถ้าเราใส่สับปะรดตอนแกงไม่ร้อนจัด ก็จะช่วยทำเนื้อนิ่มได้

 
2. ซุปหัวหอม


 
- หัวหอมมีน้ำตาล,ส่วนใหญ่ Fructose, Glucose, Sucose เกิดจาการผัดคายน้ำ หัวหอม 100 กรัม มีน้ำตาล 4.2 กรัม
- ใส่เกลือตอนผัด หัวหอมคายน้ำเพราะความเค็มภายนอกเยอะ และหัวหอมพยายามไปละลายเกลือภายนอกให้สมดุล จึงสละน้ำภายในออกเร็วขึ้น ในห้องเรียนเรียกว่า Sweat ทำถึงกลายเป็นแยม
- เมื่อผัดไปเรื่อยสีน้ำตาลคือ Caramelize จากน้ำตาลที่คายมานั่นเอง ต้องคนเรื่อยๆ
- การ Deglaze ด้วยไวน์ขาว หรือไวน์แดง ก็เพื่อดึงสีน้ำตาล ส่วนก้นติดหม้อขึ้นมาจะได้อร่อยขึ้น ส่วนมากเป็น Caramel จากน้ำตาล
- หัวหอมมีสารชื่อ Iso Allinin ซึ่งเมื่อหั่น จะถูกย่อยโดย Allinase สักพักจะได้ iso allicin ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์กับร่างกาย เช่น ช่วยการอักเสบของเซลล์ และต่อต้านอนุมูลอิสระ กระเทียมก็มีเหมือนกัน
- เพิ่มกลิ่นหอมด้วย Tyme สด
- เสริฟได้สองแบบ ใส่แก้ววางขนมปังบาแกตโรยชีสทำกราแตง กับเสริฟแก้ววางแผ่นพัฟอบจนหอม

 
3.ซุปผักอิตาลี (Minestrone) สูตรนี้ซุปเบสมะเขือเทศ

 ไลโคพีนในมะเขือเทศจะได้รับมากที่สุดเมื่อโดนความร้อนนานๆ ไลโคปีนจะยึดจับเนื้อเยื่อมะเขือเทศลดลง เมื่อโดนความร้อน ทำให้ร่างกายน้ำไปใช้ได้
- การผัดผักดึงความหวาน ด้วยการคายน้ำ, ผักทุกตัวมีความหวาน เช่น Leek ก็มีน้ำตาล 3.9 g/100g แครอท 4.7g/100 กรัม
- ผักหลากหลาย มีทั้ง ซุกีนี่, ผักโขม, แครอท, Celery, Leek, ถั่วลันเตา และมะเขือเทศ
- ซุปนี้เป็นซุปสุขภาพ เต็มไปด้วยสารอาหารที่ดี อิ่มท้องด้วยมักกะโรนี
 
พยามยามเขียนน้อยๆแล้วนะ แต่ก็ตื่นเต้นกับการกลับมาทำเมนูที่ตัวเองเคยทำตอนเรียน แล้วได้กลับมาทำใหม่ เกิดมุมมองที่เปลี่ยนไปมาก
ทำให้อยากให้เพื่อนๆได้เห็นว่า เมื่อได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง มุมมองจะเพิ่มขึ้นได้แค่ไหน สมที่เค้าบอกโลกของอาหาร เรียนเท่าไหร่ก็ไม่หมดจริงๆ...

พูดคุยเรื่องทำอาหาร เบเกอรี่ ขนมอบ ขนมปัง เค้ก ทำงานครัว วิทยาศาสตร์อาหาร
ที่ FB/ManCanCookChannel 
หรือพูดคุยกันที่ Official Line : @ManCanCook
ติดตามวีดีโออื่นๆได้ที่ youtube/@mancancook7825

#RevisitTheSeries
#แกงเผ็ดเป็ดย่าง #OnionSoup #minestrone
#เชฟนักวิทย์ #เชฟแมน #ManCanCook
Created date : 14-11-2024
Updated date : 14-11-2024
กดติดตามกัน เพื่อรับเรื่องราวดีๆ

- Goto Top -
Lastest Update
 
Other Articles