ประสบการณ์จัดสอบน้องๆที่สถานพินิจระยอง กับความรู้สึกที่พิเศษ
“ครั้งแรกที่เข้าใจอารมณ์คนสอน และเห็นใจคนเข้าสอบในเวลาเดียวกัน”
...อยากให้การสอบได้มาตรฐาน แต่ก็กลัวเด็กๆเสียใจถ้าสอบตก
และเข้าใจว่าเมื่อวันที่ผมสอบตก หรือทำได้ไม่ดี ไม่ใช่เรื่องของผมคนเดียว ผมอาจทำให้ครูทุกข์ได้เหมือนกัน
//เริ่มต้น
เมื่อวานนี้มีการจัดสอบกับน้องๆที่สอนในเดือนที่แล้ว เพื่อออกใบเซอร์ให้น้องๆ ทำให้คิดถึงประสบกาณ์ที่ผ่านมาในการสอบหลายสนาม ทั้งจากโรงเรียนทำอาหาร การแข่งทำอาหาร หรือตอนเรียน ป.โท วิทยาศาตร์อาหารที่ลาดกระบัง ทุกสนามมีความกดดัน
ในการสอบมีทั้งความเครียด ความกดดัน ยิ่งบางทีถ้าผลลัพธ์มาไม่ดีก็ทำให้เกิดความทุกข์ได้ จึงสงสัยว่าอาจารย์หรือเชฟ โหดกับการสอบทำไม เค้าสนุกที่ให้ข้อสอบโหดแบบนี้ใช่มั้ย เครียดนะ งานก็ต้องทำ เรียนก็ต้องเรียน ช่วยหน่อยได้มั้ย
บางทีขณะสอบก็คิดในใจ ถ้าอาจารย์ช่วยหน่อยก็คงดี ปล่อยผ่านได้มั้ย ไม่หักคะแนนได้มั้ย ยังไงเราก็ไปทางนี้อยู่แล้ว จะกดดันไปทำไม แค่เราไม่มีเวลาว่างซ้อม หรืออ่านหนังสือเท่านั้นเอง
พอเราได้เป็นคนจัดสอบกับน้องๆที่เราได้ร่วมสอนเอง ค้นพบว่า
1. อยากให้น้องๆผ่านทุกคนเพื่อให้มีความสุข เพราะอยากให้น้องๆมีความสุขจากการเรียน ไม่ผิดหวังกลับไป
2. อยากให้น้องที่ตั้งใจได้ผลลัพธ์ความตั้งใจ เพื่อให้คนที่เตรียมมารู้ว่า รางวัลของคนที่พร้อมคือการผ่าน แต่คนที่ไม่เตรียมก็ไม่ผ่าน
สองข้อนี้ยากมาก เพราะถ้าผ่านทุกคน ก็ขาดมาตรฐาน คนเตรียมก็เสียกำลังใจ หรือถ้ามีคนสอบตกก็ทำให้น้องๆที่อยู่ที่นี่เป็นทุกข์ เป็นเรื่องยากจริงๆในการตัดสินคะแนน
การสอบแบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน ให้เวลา 2 ชม.
ให้ทำเค้กสองอย่างคือ เค้กกล้วยหอม และเค้กกล้วยหอมหน้าชีส
เริ่มสอบแมนทำให้สถาณะการณ์กดดันเล็กน้อง ด้วยการแจ้งกติกาว่า สูตรที่ให้จะไม่มีสำรอง ทำได้พอดีเท่านั้น ถ้าผิดคือผิดเลย และมีเวลากำหนดถ้าหมดเวลาต้องยกมือหยุดทันที รวมถึงขณะสอบจะคุยข้ามกลุ่มไม่ได้ และเชฟจะไม่ช่วยเหลือ ถามไม่ได้ ทิ้งท้ายว่า ถ้าสอบตกวันนี้สอบใหม่เลยนะ น้องๆตื่นเต้นมาก ^^
ก่อนเริ่มแมนก็พยายามทบทวน ประมาณ 15 นาที เพื่อให้น้องๆได้ค่อยๆคิดตาม และมีการปรับสูตรให้เหมาะสมกับการสอบ การให้คะแนนว่าดูอะไรบ้าง
1 ความสะอาด
2 การจัดการ
3 การจัดการของเหลือ
4 ความสมบูรณ์ของภายนอก
5 รสชาติ
(เอาจริงๆตัวแมนเองทั้ง 5 ข้อ ยังต้องพัฒนาอีกเยอะมาก)
ระหว่างสอบ ทุกคนเงียบ ดูตั้งใจ แมนได้แต่ยืนดู ถือกระดาษติ๊ก และจดข้อผิดพลาด เพื่อให้ตอนจบน้องจะได้รับฟีตแบ็คกลับไปเพื่อไปพัฒนาต่อ
กลุ่มที่ 4 ทำผิดพลาด ตีไข่โดยที่ยังไม่เป็นครีมมี่ แต่รีบใส่ส่วนผสมอื่น ด้วยความอยากเร็วกว่าคนอื่น ทำให้แบทเตอร์ยุบ เทเค้กได้ไม่เต็มพิมพ์ รู้เลยว่าเค้าเสียใจ ในใจกะว่าจะเป็นเหตุผลให้ตกล่ะ แต่น้องขอเราทำใหม่ทั้งหมด และเค้าก็ไม่ทิ้งของเก่า เพื่อเป็นประสบการณ์เปรียบเทียบ และเราจะดูว่า เค้าจะรู้สึกยังไงที่ต้องส่งช้าสุด จากความพยายามเป็นคนแรก
กลุ่มที่ 3 แมนเห็นถึงความเครียดที่จะทำให้สำเร็จ หลายคนรีบตีแบทเตอร์แรงจะทำให้เนื้อเหนียวและยุบหลังผสมแป้ง (เนื้อเค้กหลังจากตีไข่แล้ว ถ้าใส่แป้งจะไม่ตีแรง เพราะจะทำให้แบทเตอร์ยุบ และเหนียวตัน)
กลุ่มที่ 1เและ 2 ทำได้ดีมาก อาจไม่เพอเฟค แต่ดีมากสำหรับคนที่ทำไม่กี่ครั้งแบบนี้
พอจะประกาศผลว่าผ่านหรือไม่ ก็ต้องตกลงกับซินเซียร์ว่าเอาไงดี แต่สุดท้ายก็คิดว่า เราอยากให้กำลังใจเด็กๆ และไม่อยากให้เกิดการแข่งขันจึงเลือกสอนให้ดูเซลล์ของเนื้อเค้ก เหตุผลอะไรที่ทำให้เนื้อเค้กเป็นแบบนี้ ปัจจัยอะไรที่ที่ส่งผลต่อเนื้อเค้ก ทำไปทำมานึงถึงอาจารย์ที่สอนผมที่มหาลัยตอนเรียนโทที่ลาดกระบัง ที่เป็นการทดลองให้เห็นการเปลี่ยนตัวแปร ปัจจัยหลายๆแบบ เปลี่ยนวิธีทำ แม้จะทำผิดวิธี ถ้าเราเข้าใจ เราก็ประเมินแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ นำไปเป็นความรู้ได้ ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ
ท้ายที่สุดเด็กๆทุกคนผ่านการสอบ โดยครั้งนี้ผมตั้งใจให้เด็กๆเห็นผลลัพธ์ตัวเองให้เค้ารู้ว่าเรามองอยู่ตลอด ดีใจที่เห็นเค้าตั้งใจ
ปล.ระว่างการสอบเวลาที่เห็นน้องๆทำผิด หรือท่าทางที่ไม่ทะมัดทะแมง เราก็คิดว่า เราสอนผิดสอนแย่รึเปล่าเค้าถึงทำไม่ถูก ทำไมจำไม่ได้ เราสอนผิดตรงไหน ครั้งหน้าเราจะสอนยังไง? แปลกดี เพิ่งรู้ว่าการสอบประเมินนักเรียน แท้จริงคือการประเมินคนสอนเองรึเปล่า?
ทำให้นึกถึงตอนเรียนกอดองเบลอ
แมนเคยถามเชฟเดวิดว่า “ทำไมเชฟถึงให้นักเรียนผ่านแม้ไม่เพอเฟค หรือยังมีความผิดพลาด” เชฟบอกว่า “มาที่นี่ เรามาเรียนความผิดพลาดว่าเป็นยังไง เมื่ออกไปข้างนอกจะได้ทำถูกได้มากขึ้น” ขอบคุณ และขอโทษคุณครูทุกคนในชีวิตของนายแมน ที่ทำให้รู้ว่าเมื่อวันที่ผมสอบตก หรือทำได้ไม่ดี ไม่ใช่เรื่องของผมคนเดียว ผมอาจทำให้ครูทุกข์ได้เหมือนกัน ต่อไปนายแมนจะตั้งใจเรียนครับ ^^